วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

>>> โทรทัศน์การศึกษา <<<


โลกของการศึกษาในปัจจุบันนี้ได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปตามเทคโนโลยี

ที่นับวันยิ่งพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปอย่างไม่สิ้นสุด 

การศึกษาในยุคสมัยปัจจุบันจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อน 

ซึ่งในเมื่อก่อนที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้ามากนัก

การเรียนการสอนก็จะมีรูปแบบการสอนโดนอาศัยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 

แหล่งความรู้,ข้อมูลข่าวสารต่างๆก็มีจำกัด 

แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเทคโนโลยีต่างๆเริ่มมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษาในหลายๆเรื่อง 

ช่วยอำนวยความสะดวกและมีประโยชน์อย่างมาก

สำหรับนักเรียน ครูผู้สอน นักบริหารการศึกษา

รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจแสวงหาความรู้อย่างไม่รู้จบ 

ซึ่งเราจะมากล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ที่เรียกว่า “โทรทัศน์การศึกษา” 

มาดูกันว่าโทรทัศน์การศึกษานั้นคืออะไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างไร

...................



“โทรทัศน์การศึกษา หมายถึง การส่งรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเชิงความรู้ด้านต่างๆให้แก่ผู้ชมโดยไม่จำกัดสถานภาพของผู้รับและสามารถนำรายการเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการประกอบการเรียนการสอนได้ แต่ถ้าเป็นโทรทัศน์เพื่อการสอนจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่จัดเพื่อการสอนตามหลักสูตรและมีการจำกัดสถานภาพของกลุ่มผู้รับ 

ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์ 

ระบบของการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ
1.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (open - circuit television or broadcasting television) ระบบนี้ส่งภาพและเสียงไปยังเครื่องรับตามสถานที่ต่างๆ ได้ตามแรงรัศมีซึ่งแยกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
1.1 ระบบ VHF ( Very High Frequency ) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์12 ช่อง โดยใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า ใช้ความถี่คลื่นตั้งแต่44-88 megahertz ใช้กับช่อง 2-6 และความถี่ 174-216 megahertz ใช้กับช่อง 7-13
1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์70ช่อง คือ ช่อง14-83 ความถี่ของคลื่นตั้งแต่ 470-890 megahertzใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่การค้า
2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television;CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงในบริเวณจำกัดกว่าในระบบแรกเนื่องจากเป็นการแพร่ภาพไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่นโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย หรือระบบสายเคเบิลที่ส่งไปยังคนกลุ่มเดียวที่ต่อจากสายเคเบิลจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับของตน 



ประเภทของรายการโทรทัศน์ 


รายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพและเสียงในขณะนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1.รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television: CTV) เป็นรายการเพื่อความบันเทิง และธุรกิจโฆษณา
2.รายการโทรทัศน์การศึกษา (Education Television: ETV) เป็นรายการเพื่อความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ เช่นความรู้ทางวิชาการ ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม โดยไม่จำกัดความรู้ของผู้ชม หรือเจาะจงเฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป 
3. รายการโทรทัศน์การสอน (Instructional Television: ITV) เป็นรายการที่จัดขึ้นตามหลักสูตรทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียน เพื่อเสนอบทเรียนแก่ผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา 

ข้อดี
1.สามารถใช้โทรทัศน์ได้ในสภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัดทั้งนี้เพราะสามารถแพร่ภาพและเสียงไปตามห้องเรียนต่างๆและผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านได้

2.เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อประสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์

3.เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความสามารถพิเศษในแต่ละแขนงวิชามาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์ได้
4.สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้นได้โดยเทคนิคการถ่ายใกล้เพื่อขยายภาพหรือวัสดุให้ผู้เรียนเห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
5.ช่วยปรับปรุงเทคนิคการสอนของครูประจำและครูฝึกสอน เช่น ในการสอนแบบจุลภาค
6.เป็นสื่อที่สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม


ข้อจำกัด
1.การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพุดจาโต้ตอบกันได้

2.โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนอย่างสิ้นเชิง ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆประกอบด้วย

3.อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
4.การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ ทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
5.จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทำและใช้เทคนิควิธ๊การในการผลิตรายการที่มีคุภาพ 


สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

Educational Television, Ministry of Education (ETV)





ในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารแห่งชาติ ดวงแรกของประเทศไทยขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเอเรี่ยน4ของบริษัทเอเรี่ยนสเปซประเทศฝรั่งเศสดาวเทียมดวงนี้ได้รับพระราชทานชื่อจาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯว่า "ไทยคม" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการกระจายข่าวสารข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งช่วยในการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลโดยการนำความรู้แลกระบวนการจัดการเรียนการสอน ไปถึงตัวผู้เรียนโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างทั่วถึงคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเป็นการขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับ มาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้เป็นโครงการทดลอง  ในระยะ 5 ปี (8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 7 มิถุนายน 2542) และเริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2537 ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนหรือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบันรับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคมในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
1.จัดหาช่องสัญญาณ 1 ช่อง สัญญาณโทรทัศน์ ในความถี่ย่าน Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม เพื่อการ ถ่ายทอดรายการ โทรทัศน์ และการให้ข่าวสารทาง เทเลเท็กซ์ (Teletext) เพื่อใช้ประโยชน์ทางการ ศึกษาเป็นประจำทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมูลนิธิไทยคมเป็นผู้รับภาระ ค่าเช่าช่องสัญญาณตลอดช่วง โครงการทดลอง
2.จัดหาอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งจานรับสัญญาณ (Dish) ติดตั้งในสถานศึกษาและศูนย์การเรียน กระจาย ไปทั่วประเทศ
3.ให้ความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้การศึกษา 2 ทาง (Interactive and Two-way Communication) ในอนาคต 





ภารกิจ

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน 5 ลักษณะ ดังนี้

1.รายการโทรทัศน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว
เป็นรายการที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เสริมพลังสมองให้แก่เด็กและเยาวชน สร้างครอบครัวไทยให้เข้มแข็ง และพร้อมจะก้าวไปสู่สังคมแห่งสุขภาวะได้อย่างยั่งยืน 

2.รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน
เป็นรายการที่มีเนื้อหาความรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน และรายการเสริมความรู้ให้กับนักเรียน ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นสื่อเสริมสำหรับโรงเรียนในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอนหรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อนหรือยากต่อการทำความเข้าใจ

3.รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเสริมการศึกษานอกโรงเรียน
เป็นรายการที่จัดเสริมการศึกษานอกโรงเรียนในระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นเนื้อหาวิชาที่ยากต่อการทำความเข้าใจซึ่งจะคัดเลือกเนื้อหาที่ยากมานำเสนอในรายการโทรทัศน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

4.รายการโทรทัศน์เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป็นรายการที่จัด/ผลิตขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เช่น ครู ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวได้รับความรู้และได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

5.รายการโทรทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป


ปัจจุบันสามารถรับชมรายการ  ETV  ได้  6  ช่องทาง  ดังนี้

1. มีชุดอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมระบบ จานรับสัญญาณดาวเทียม  โดยจานดาวเทียม Samart รับชมได้ที่ช่องจานดาวเทียม Dtv ช่อง 64
2. รับชมผ่านทาง Internet  ที่
http://www.etvthai.tv/
3. รับชมผ่านมือถือ ระบบสมาร์ทโฟน ที่
http://www.etvthai.tv.m หรือhttp://www.m.etvthai.tv
4. รับชมผ่านระบบ IPTV Internet Protocal                     

5. ผู้รับชมรายการที่เป็นสมาชิกของ True Visions ช่อง 180
6. ผู้รับชมรายการที่เป็นสมาชิกของเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ








ผู้เขียนบทความ นางสาวกาลัญญา  ใจชื่น นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(สาขาการสอนคณิตศาสตร์ รหัสนิสิต53040544)